วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

หลักการใช้ตัวการันต์ และไม้ทัณฑฆาต
การันต์ ( การ+อันต์) แปลว่า กระทำในที่สุด ทำให้สุดศัพท์ หมายถึงตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง ซึ่งมีเครื่องหมายทัณฑฆาต กำกับไว้
ทัณฑฆาต  ์ ) แปลว่า ไม้สำหรับฆ่า เป็นเครื่องหมายสำหรับฆ่าอักษร ไม่ต้องออกเสียงหลักการใช้ตัวการันต์ และไม้ทัณฑฆาต มีหลักในการสังเกตดังนี้  
        ๑.คำที่มีพยัญชนะหลายตัว (ตัวการันต์)   อยู่หลังตัวพยัญชนะที่เป็นตัวสะกด
ถ้าไม่ต้องการออกเสียงพยัญชนะเหล่านั้นจะใช้ไม้ทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
            พักตร์         กษัตริย์         กาญจน์         ลักษณ์                        
        ๒.คำที่มาจากภาษาอังกฤษบางคำเมื่อนำมาเขียนในภาษาไทยมักใส่
ไม้ทัณฑฆาตลงบนตัวอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียงนั้น เพื่อรักษารูปศัพท์เดิมไว้ และ
เพื่อสะดวกในการออกเสียง เช่น
             ฟิล์ม           อ่านว่า            ฟิม             ศัพท์เดิมคือ    film              
            ชอล์ก         อ่านว่า            ช็อก            ศัพท์เดิมคือ    chalk  
            การ์ตูน        อ่านว่า            กา-ตูน        ศัพท์เดิมคือ    cartoon
       คำบางคำที่ออกเสียงเหมือนกันเป็นคู่ๆ ถ้ามีตัวการันต์จะทำให้ความหมายต่างไปจากเดิม เช่น
            กรณี (เหตุ, เรื่องราว)                 กรณีย์ (กิจที่พึงทำ)
            สุรี (ผู้กล้าหาญ                        สุรีย์ (ดวงอาทิตย์)
            นิเทศ (ชี้แจง แสดง จำแนก     ศึกษานิเทศก์ (ผู้ทำหน้าที่ชี้แจง)
     รูปศัพท์เดิมทำให้เขียนบางคำเขียนมีตัวการันต์ บางคำเขียนไม่มีตัวการันต์ เช่น
           เปอร์เซ็นต์     ต้องมี ต์            เพราะมาจากรูปศัพท์เดิมคือ  Percent     
           เซ็นชื่อ           ไม่ต้องมี  ต์       เพราะมาจากรูปศัพท์เดิมคือ  Sign
          ไตรยางศ์         ต้องมี  ศ์           เพราะมาจากรูปศัพท์เดิมคือ  ไตร + องศ์
     คำที่มีตัว ร ออกเสียงควบกับตัวสะกด ถึงแม้ไม่ออกเสียง จะเป็นตัวการันต์ไม่ได้ เช่น
         จักร                ตาล         ปัตร               บัตร                          บุตร           เพชร
      ปริตร             มาตร       มิตร        ยุรยาตร        วิจิตร         สมัคร
         ยกเว้นคำว่า    เทเวศร์    พยาฆร์(เสือโคร่ง)   ศุกร์ 
ส่วนตัว ร ที่ไม่ควบตัวสะกด เป็นตัวการันต์ได้ เช่น
จันทร์         พัสตร์(ผ้า)           พักตร์                     มนตร์                                                                    
ยนตร์          ศาสตร์                 เสาร์                       อินทร์                                                                                    
        การใช้ไม้ทัณฑฆาต ( ์ )   
    ๑.ใช้สำหรับบอกให้รู้ว่าเป็นตัวสะกด  เช่น
         พุท์โธ  อันว่าพระพุทธเจ้า
    ๒. ใช้สำหรับฆ่าอักษรที่ไม่ต้องการออกเสียง ได้แก่
           .  ฆ่าพยัญชนะตัวเดียว เช่น  การันต์  ครุฑพ่าห์  ทรัพย์ อลงกรณ์
           .๒ ฆ่าสระ เช่น  หม่อมเจ้าทรงเชื้อธรรมชาติ์
          .๓ ฆ่าทั้งพยัญชนะและสระ เช่น  พันธุ์  โพธิ์ สวัสดิ์
          .๔ ฆ่าอักษรหลายตัว เช่น กษัตริย์  ฉันทลักษณ์  พระลักษณ์