วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เราจะใช้ รร (ร หัน) เวลาใด

ก่อนอื่นเลยนะครับต้องเข้าใจก่อนครับ รร (ร เรือสองตัว) จะเปลี่ยนจาก พยัญชนะ กลายเป็น สระ ทันทีครับ โดยเราจะใช้ รร ที่เขียนไว้หลังพยัญชนะต้นที่ไม่มีรูปสระ โดย ร ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็นไม้หันอากาศ ส่วน ร ตตัวหลังจะทำหน้าที่เป็นตัวสะกด แม่กน ซึ่งจะทำให้เราอ่านออกเสียงแบบเดียวกับ  -ัน เลยครับ
แต่ถ้า มีพยัญชนะตัวอื่นมาอยู่หลัง รร (ร หัน) เวลาอ่านเราจะอ่านเสียงพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตามนั้นทันที
แต่ถ้า ตัวสะกดที่อยู่ “รร” มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับอยู่ ก็จะอ่านเหมือนเสียงที่มีแต่ รร ดังเดิม

ตัวอย่างคำที่มีแต่ รร (ร หัน) อย่างเดียวไม่มีตัวสะกด

  • บรรยาย อ่านว่า บัน-ยาย *เราจะสังเกตได้ว่า บรร จะอ่าน ออกเสียง บัน ซึ่ง อยู่ในมาตราตัวสะกดแม่กน
  • บรรทุก อ่านว่า บัน-ทุก
  • บรรจุ อ่านว่า บัน-จุ
  • บรรจบ อ่านว่า บัน-จบ
  • บรรทัด อ่านว่า บัน-ทัด
  • กรรไกร อ่านว่า กัน-ไกร *เราจะสังเกตได้ว่า กรร จะอ่าน ออกเสียง กัน ซึ่ง อยู่ในมาตราตัวสะกดแม่กน
  • หรรษา อ่านว่า หัน-สา *เราจะสังเกตได้ว่า หรร จะอ่านออกเสียง หัน ซึ่ง อยู่ในมาตราตัวสะกดแม่กน

ตัวอย่างคำที่มีพยัญชนะตัวอื่นตามหลัง รร (ร-หัน)

  • พรรคพวก อ่านว่า พัก-พวก *จะสังเกตได้ว่า พรรค ซึ่ง ค เป็นตัวสะกด อยู่ในแม่ กก เวลาอ่าน ก็เลยลงท้ายด้วยแม่ กก 
  • กรรม อ่านว่า กัม *จะสังเกตได้ว่า กรรม ซึ่ง ม เป็นตัวสะกด แม่กม เวลาอ่านก็เลยอ่านว่า กัม แยกออกมา ก -ั ม
  • สรรพ อ่านว่า สับ *จะสังเกตได้ว่า สรรพ ซึ่ง พ เป็นตัวสะกด แม่กบ 
  • พรรณ อ่านว่า พัน

ตัวอย่างคำที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับ หลัง รร (ร-หัน)

  • สวรรค์ อ่านว่า สะ-หวัน *สังเกตว่า ค เป็นตัวสะท้าย แต่จะไม่ใช่ตัวสะกด จะข้ามไปเลย
  • สร้างสรรค์ อ่านว่า ส้าง-สัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น